27 พฤษภาคม 2552

กำเนิดพระพรหม

.ในอินเดียสมัยโบราณ พระพรหมเป็นเทพผู้สร้างโลก ได้รับการยกย่องโดยพวกพราหมณ์ ให้มีฐานะเท่าเทียมกับพระวิษณุ (ผู้คุ้มครองโลก) และพระศิวะ (ผู้ทำลายโลก) วิวัฒนาการทางความเชื่อทางศาสนา และศิลปกรรมของอินเดียมีการ เปลี่ยนแปลง ตามแคว้นต่าง ๆ เสมอรวมถึงการเปลี่ยนแปลงตามประเพณีความเชื่อในช่วงสมัยนั้น ๆ โดยมีการนับถือตามนิกายต่าง ๆ ของความ เชื่อที่มีอยู่นั้น เช่น นิกายไศวะ หรือไศวะนิกาย และไวษณพนิกาย หรือไวษณวนิกาย ทั้ง ๒ นิกายให้ความเคารพนับถือเทพ คือพระศิวะ และ พระวิษณุเป็นพิเศษ จึงลดความศรัทธาความเชื่อถือพระพรหมลง และเมื่อเวลาผ่านถึง ค.ศ. ที่ ๑๐ ชาวฮินดูจึงหันมาให้ความเคารพ นับถือพระพรหมจากที่นิกายไศวะ และไวษณพนิกาย ซึ่งมีการแข่งขันกันทางด้านความเชื่ออยู่ พระพรหมจึงกลายเป็นเทพองค์สำคัญขึ้นมาใหม่ โดยมีการสร้างเทวาลัย และรูปปั้นไว้เป็นจำนวนมาก พระพรหมได้รับการนับถือบูชาในฐานะที่พระองค์เป็นผู้สร้างของทุกสิ่งทุกอย่างให้เกิดขึ้นบนโลก พระองค์ทรงเป็นผู้ให้ที่สำคัญ และเป็นผู้กำหนดโชคชะตาของมนุษย์ พระนาม ที่เรียกขานกันมีมากมายนอกเหนือจากพระพรหม หรือ พระพรหมธาดา เป็นต้นว่า ราชคุณ หมายถึง ความมี กิเลสและความปรารถนา และมูลเหตุของการสร้างโลกทั้งปวง สวายัมภู หมายถึง ผู้เกิดเอง กมลสาส์น และปัทมสาส์น หมายถึง ผู้นั่งบนดอกบัว ซึ่งเกิดมาจากสะดือของพระวิษณุ คัมภีร์ฤคเวท ปรากฏพระนาม ปชาบดี คัมภีร์รามายณะ ปรากฏพระนามอื่นๆ คือ ปรเมศวร วิธิ-เวธาส อทิกวี สนัต ชาตริวิชาตริ ปิตามหะ ทรุหิณ-สราษฎริ โลเกศ ลักษณะทางศิลป์ รูปเคารพของพระพรหมที่พบในปัจจุบันมีรูปเคารพ ๔ ปาง ๕ พระนาม ซึ่งมีลักษณะทางศิลป ดังนี้ ปางประชาบดี พระพรหม พระวรกายสีขาว สวมอาภรณ์หนังกวางสีดำพาดบ่า มี ๔ พักตร์ ๔ กร ถือช้อน แจกัน และการทำปางประทานพร ด้านขวาของพระพรหม มีรูปเทพธิดาสรัสวดี ด้านซ้ายของพระพรหม มีรูปเทพธิดาสาวิตรียืนประทับอยู่ พาหนะคือ หงส์ ปางโลกบาล พระพรหมมี ๔ พักตร์ ๔ กร ถือลูกประคำ หนังสือ ดอกบัว และแจกัน ด้านข้างมีนางสาวิตรี (๔ พักตร์) ประทับยืนด้วย ปางวิศวกรรม พระพรหมมี ๔ พักตร์ ๔ กร ถือ ช้อน หนังสือ แจกัน และลูกประคำ ปางกามลักษณะ ปางปิตมหา พระพรหมมี ๔ พักตร์ พระเกศามุ่นขมวด มี ๔ กร ถือ หนังสือ แจกัน หม้อ และช้อน ในสมัยพระพุทธศาสนาได้ถือกำเนิดแล้วได้ปรากฏภาพสลักในรูปของพระพรหมกำลังเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า พระพรหมทรงอาภรณ์ดั่งพราหมณ์ พระกรถือหม้อน้ำข้างหนึ่ง
กำเนิดพระพรหม
จากคัมภีร์และตำนานมากมายที่กล่าวถึงการกำเนิดของพระพรหม กล่าวไว้ อาทิ คัมภีร์วารหปุราณะ และมหากาพย์มหาภารตะ กล่าวไว้ว่า พระพรหมเกิดจากดอกบัวที่พุดขึ้นจากสะดือของพระวิษณุ ที่บรรทมหลับอยู่บนหลังพระยาอนันตนาคราชที่เกษียรสมุทร คัมภีร์ปัทมปุราณะ กล่าวไว้ว่า เมื่อครั้งพระวิษณุต้องการสร้างโลก จึงแบ่งภาคออกเป็น ๓ ภาค โดยพระพรหม เกิดจากสีข้างเบื้องขวา พระวิษณุ (พระองค์) เกิดจากสีข้างเบื้องซ้าย พระศิวะ เกิดจากบั้นกลางพระองค์คัมภีร์มานวธรรมศาสตร์ กล่าวไว้ว่าในครั้งเมื่อโลกยังไม่ปรากฏสิ่งใดๆ (ว่างเปล่า) พระอาตมภู (ผู้เกิดเอง) ประสงค์จะสร้างทุกสิ่งจึงสร้างน้ำขึ้นมาก่อน แล้วนำพืชโปรยลงน้ำ เวลาผ่านไปพืชนั้นกลายเป็นไข่ทองและกำเนิดพระพรหมปรากฏขึ้น นามว่า หิรัณครรภ์ หลังจากนั้นพระพรหมจึงแบ่งร่างเป็นชาย-หญิง เพื่อสร้างโลกและมนุษย์ต่อมา ช่วงนี้ขอเล่าถึงตำนานพระเศียรของเทพเจ้าผู้สร้างโลกนามพระพรหม บางส่วนของตำนานกล่าวไว้ว่า เมื่อแรกพระพรหมทรงมี ๕ เศียร เรื่องมีอยู่ว่าพระองค์ทรงหลงรักและหวงแหนพระมเหสี (พระมเหสีองค์มีหลายพระนาม อาทิ สรัสวดี สาวิตรี พราหมณี) เพื่อคุ้มครองพระมเหสีองค์นี้ด้วยว่าไม่ว่าจะเสด็จที่ใดก็ตาม พระองค์จะทรงใช้ตาที่เศียรทั้ง ๕ เศียรของ พระองค์เฝ้าติดตามไม่ว่าจะเกิดเหตุใดขึ้นก็ตามจะได้ช่วยทันทุกเวลาต่อมาเศียร ๑ ใน ๕ เศียรเกิดพูดจากดูหมิ่นพระแม่ปารพตี มเหสีของพระศิวะเมื่อพระองค์ทราบเรื่องจึงบันดาลโทสะจนเกิดการต่อสู้กันระหว่าง พระพรหมกับพระศิวะ เมื่อเวลาต่อมาพระพรหมเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ถูกพระศิวะตัดเศียรไปหนึ่งเศียร จึงเป็นเหตุให้พระพรหม เหลือเพียง ๔ เศียร นับแต่นั้นเป็นต้นมา บางตำนานกล่าวไว้ว่า พระพรหมทรงถูกพระศิวะใช้ฤทธิ์เพ่งตาที่ ๓ ทำให้เกิดไฟเผาผลาญเศียรที่ ๕ ของพระพรหมจนมอด ไหม้ เพราะกล่าวคำหมิ่นพระศิวะนั่นเอง
ตำนานการเกิดของมนุษย์

ตำนานกล่าวว่าพระพรหมสร้างมนุษย์ จากอวัยวะของพระองค์ ซึ่งได้เกิดเป็นวรรณะต่างๆ ดังนี้
วรรณะพราหมณ์ เกิดจากเศียรของพระองค์
วรรณะกษัตริย์ เกิดจากบ่าของพระองค์
วรรณะแพศย์ เกิดจากส่วนท้องของพระองค์วรรณะศูทร เกิดจากเท้าของพระองค์
บางตำรากล่าวถึงเริ่มแรกทรงเนรมิตมนุษย์มีขาข้างเดียว แต่ก็เห็นว่าเดินไม่สะดวก จึงสร้างมนุษย์มี ๓ ขา ดูเหมือนจะไม่พอพระทัยเพราะว่าเกะกะเกินไปไม่สวยงาม จึงทรงสร้างมนุษย์ขึ้นมาใหม่อีกครั้งให้มี ๒ ขา ที่ปรากฏจนทุกวันนี้
คัมภีร์ปัทมปูราณะ

ปัทมปุราณะ กล่าวไว้ว่า เมื่อครั้งพระวิษณุต้องการสร้างโลก จึงแบ่งภาคออกเป็น ๓ ภาค โดยพระพรหม เกิดจากสีข้างเบื้องขวา พระวิษณุ (พระองค์) เกิดจากสีข้างเบื้องซ้าย พระศิวะ เกิดจากบั้นกลางพระองค์คัมภีร์มานวธรรมศาสตร์ กล่าวไว้ว่าในครั้งเมื่อโลกยังไม่ปรากฏสิ่งใดๆ (ว่างเปล่า) พระอาตมภู (ผู้เกิดเอง) ประสงค์จะสร้างทุกสิ่งจึงสร้างน้ำขึ้นมาก่อน แล้วนำพืชโปรยลงน้ำ เวลาผ่านไปพืชนั้นกลายเป็นไข่ทองและกำเนิดพระพรหมปรากฏขึ้น นามว่า หิรัณครรภ์ หลังจากนั้นพระพรหมจึงแบ่งร่างเป็นชาย-หญิง เพื่อสร้างโลกและมนุษย์ต่อมา ช่วงนี้ขอเล่าถึงตำนานพระเศียรของเทพเจ้าผู้สร้างโลกนามพระพรหม บางส่วนของตำนานกล่าวไว้ว่า เมื่อแรกพระพรหมทรงมี ๕ เศียร เรื่องมีอยู่ว่าพระองค์ทรงหลงรักและหวงแหนพระมเหสี (พระมเหสีองค์มีหลายพระนาม อาทิ สรัสวดี สาวิตรี พราหมณี) เพื่อคุ้มครองพระมเหสีองค์นี้ด้วยว่าไม่ว่าจะเสด็จที่ใดก็ตาม พระองค์จะทรงใช้ตาที่เศียรทั้ง ๕ เศียรของ พระองค์เฝ้าติดตามไม่ว่าจะเกิดเหตุใดขึ้นก็ตามจะได้ช่วยทันทุกเวลาต่อมาเศียร ๑ ใน ๕ เศียรได้ถูกพระศิวะเผา เพราะว่าเศียรที่๕นั้นได้มีอิทธิฤทธิ์ อนุภาพร้อนแรงมากจึงทำให้สวรรค์ร้อน เทวต่างอยู่ไม่ไหวด้วยแรงแห่งความร้อน จากนั้นเหล่าเทวดาได้ปรึกษาประชุมกันว่าจะทำอย่างไร จึงได้มีกลอุบายไปร้องขอความช่วยเหลือจากพระศิวะ เพราะท่านมีดวงตาที่๓เป็นดวงตาแห่งบัลลัยกัล สามารถเผาผลาญทุกอย่าง จากนั้นพระศิวะจึงได้ใช้ดวงตาที่๓เพื่อเผาเศียรพระพรหม ต่อจากนั้นทุกอย่างก็ดีขึ้น

พระนางคายตรี ที่มี 5 พระพักตร์นั่นคือองค์อวตารของพระนางสรัสวตี เพราะว่า การที่พระนางมี 5 พระพักตร์นั้นก็เพื่ออวตารเป็นคู่บุญคู่บารมีองค์ของพระพรหมผู้เป็นสวามี เพราะสมัยก่อนจะมีเหตุการณ์ไม่ดีเกิดขึ้นพระพรหมมี 5 พระพักตร์ แต่ด้วยพระพักตร์ที่ 5 นี้เอง ที่มีความพิเศษคือจะเป็นพระพักตร์ที่จดจำคัมภีร์พระเวททั้ง 4 ไว้หมด จึงมีรัศมีเรืองรอง เหล่าเทพไม่สามารถทนต่อความร้อนแรงของรัศมีได้ จึงทูลพระศิวะให้ทรงช่วยเหลือ พระศิวะจึงตัดเอาเศียรของพระพรหมพระพักตร์ที่ 5ออก(บางตำราว่าถูกไฟจากตาที่สามทำลาย)

มนตราบูชาพระแม่ศรีมหาอุมาเทวี


- โอม ชยะ มาตา กี

- โอม ไชย มาตา กี

- โอม ชยะ ศรี ปารวตี มาตา

- โอม มหาอุมาเทวี นมัส

- โอม มหาศักติ ปารวตี มาตา

- โอม ศรี มหาอุมาเทวี นะมะฮา

- โอม ตัสสะ ปารวตี กาลี ทุรคา เจ นะมะฮา

_โอม ชยะ ศรี สรัสวตี มาตา

- โอม ศรี สรัสวตี นะมะห์

- โอม ศรี สรัสวตี ยะนะมะฮา

- โอม ศรี มหาสรัสวตี เจ นะมะฮา

- โอม สรัสวตี นามะ สตุภะยัม
วารเด กามรูปานี
วิทยา อาราม ภาม
การิชยามิ สิทธิ ภาวะตุ เม ซาดา

- โองการพินทุ นาถัง อุปปันนัง
สรัสวดี มะเตโต มหาเทโว ราชคาถา

- โอม ไจยตี ไจยปารตี สรัสวตี ไจยเดวี
ไจยตี อามิตาวรตายินี สุรนารามุนี
จันเสวีไจย สตาวาดินี ชยามพาวี
วีณาวาดินี อัมพา ปัทมาปะรีเย
ปรเมศวารี อิกาตุมาฮาราฮีนา อวลัมปา

- โอม สุรัสวดี อิตถีเมตตัญจะ เทวะปัญจะเร ภะวันตุเม
ทุติยัมปิ สุรัสวดี อิตถีเมตตัญจะ เทวะปัญจะเร ภะวันตุเม
ตะติยัมปิ สุรัสวดี อิตถีเมตตัญจะ เทวะปัญจะเร ภะวันตุเม


- โอม ตัสสะ ปารวตี กาลี ทุรคา ปิยัง มะมะ
ทุติยัมปิ ตัสสะ ปารวตี กาลี ทุรคา ปิยัง มะมะ
ตะติยัมปิ ตัสสะ ปารวตี กาลี ทุรคา ปิยัง มะมะ
(คาถาบูชาทั้งพระแม่อุมา พระแม่กาลี พระแม่ทุรคา)
__โอม ชยะ ศรี สรัสวตี มาตา

- โอม ศรี สรัสวตี นะมะห์

- โอม ศรี สรัสวตี ยะนะมะฮา

- โอม ศรี มหาสรัสวตี เจ นะมะฮา

- โอม สรัสวตี นามะ สตุภะยัม
วารเด กามรูปานี
วิทยา อาราม ภาม
การิชยามิ สิทธิ ภาวะตุ เม ซาดา

- โองการพินทุ นาถัง อุปปันนัง
สรัสวดี มะเตโต มหาเทโว ราชคาถา
- โอม ไจยตี ไจยปารตี สรัสวตี ไจยเดวี
ไจยตี อามิตาวรตายินี สุรนารามุนี
จันเสวีไจย สตาวาดินี ชยามพาวี
วีณาวาดินี อัมพา ปัทมาปะรีเย
ปรเมศวารี อิกาตุมาฮาราฮีนา
อวลัมปา

ตำนการกำเนิดแห่งองค์พระแม่ศรีมหาอุมาเทวี

พระอุมาเทวี (เทวนาครี: सती) หรือพระศรีมหาอุมา หรือ ปารวตี เป็นธิดาของท้าวหิมวัตและพระนางเมนกา พระอุมาเป็นชายาขององค์พระศิวะบรมเทพแห่งสวรรค์ มีพระโอรส 2 พระองค์ คือ พระบรมเทพขันทกุมาร ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งการสงคราม และ พระบรมเทพศรีมหาคเนศ ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งการขจัดอุปสรรคทั้งมวล พระอุมานั้นทรงมีหลายปางด้วยกันแต่ปางที่เป็นที่รู้จักมากคือ
ปางมหากาลี
(พะนางกรีกกาลราตรี) โดยมีลักษณะดังนี้ มี 10 พระกร ถืออาวุธครบมือ แลบลิ้นยาวถึงทรวงอก เครื่องประดับเป็นหัวกระโหลก สังวาลเป็นงูมีลักษณะดุร้าย

พระศรีมหาทุรคาเทวีโดยมีลักษณะดังนี้ มี 8 ถึง 12 พระกร ประทับบนหลังเสือ หรือสิงโต ลักษณะดุทรงเสื้อชุดสีแดง เทศกาลที่มีการบูชาพะอุมาคือเทศกาลนวราตรีคุเซราห์

บางตำนานกล่าวว่า พระอุมา เดิมกำเนิดในร่างมนุษย์ นามว่า สตี เป็นธิดาของพระทักษะประชาบดี มีพระขนิษฐาพระนามว่าพระคงคา ได้เป็นชายาของพระศิวะ ที่ทรงอวตารลงมาในภาคของมุนีภพ ไว้ผมหนวดเครารุงรัง นำกระดูกมาร้อยเป็นสังวาลสวมคอ นอนตาป่าช้า มีกลิ่นตัวเหม็นสาบ เป็นที่รังเกียจของพระทักษะ แต่ด้วยบารมีของพระนางสตี จึงมองเห็นรูปกายที่แท้จริงว่าพระมุนีองค์นี้ ว่าเป็นภาคหนึ่งขององค์พระศิวะ

ด้วยความรังเกียจ พระทักษะประชาบดี จึงได้ลบหลู่เกียรติของพระศิวะในงานพิธี พระนางสตีจึงทรงเข้าตบะเพื่อขับเพลิงออกมาจากร่าง เพื่อสังหารพระองค์เอง (บางตำรากล่าวว่า พระนางกระโดดเข้ากองไฟ) ด้วยความพิโรธ พระศิวะทรงส่งอสูรชื่อ วีรภัทร ไปทำลายงานพิธี และตัดศีรษะพระทักษะประชาบดี ต่อคืนด้วยหัวแพะที่ใช้บูชายัญในพิธีนั้น พระศิวะทรงเศร้าโศกเสียใจด้วยความรักที่มีต่อพระนางสตี จึงทรงทรงพาร่างของพระนางสตีออกไปจนสุดจักรวาล และบำเพ็ญพรตบารมีอยู่เป็นเวลานาน ต่อมาพระนางได้กลับมาเกิดเป็นธิดาของท้าวหิมวัตและพระนางเมนกา และเป็นชายาของพระศิวะอีกครั้ง ในร่างของพระอุมาเมวี (ปารวตี)
พิธีสตี
ชาวอินเดียที่นับถือพระศิวะ และพระอุมา มีพิธีกรรมที่เรียกว่า สตี เมื่อสามีเสียชีวิต ภรรยาจะฆ่าตัวตายตามโดยกระโดดเข้ากองไฟ เพื่อบูชาความรักและการเสียสละของพระนางสตี ที่มีต่อพระศิวะ ในบางครั้งภรรยาของผู้ตายไม่ยินยอมเข้าพิธีสตี ก็ยังถูกญาติพี่น้องของสามี บังคับให้เผาตัวตายตาม พิธีบูชายัญนี้ถูกระงับไปเมื่ออินเดียตกอยู่ในการปกครองของอังกฤษ ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18
กล่าวถึงการกำเนิดของพระนางลักษมี มีการค้นพบหลักฐานทั้งจากตำนาน เรื่องเล่าและคัมภีร์ต่างๆ ที่พบมีการกล่าวไว้ต่างกันออกไป ดังนี้ ตำนานนิยายเก่าแก่ของอินเดีย ได้กล่าวถึงช่วงสมัยพระเวทไว้ว่าพระนางลักษมีได้ถือกำเนิดขึ้นในยุคนี้ โดยพระนางเป็นที่ที่มีฐานะร่ำรวยในด้านทรัพย์สินอย่างมากมาย จนเกิดการแย่งชิงพระนางด้วยหวังในทรัพย์สินเหล่านั้น จนกาลต่อมาพระนางลักษมีจึงได้เป็นมเหสีของพระนารายณ์ในที่สุด ส่วนคัมภีร์รามายณะ กล่าวถึงตอนที่เหล่าเทวดาทั้งหลายทำพิธีกวนเกษียรสมุทร เพื่อทำน้ำอมฤต ซึ่งการกวนเกษียรสมุทรนี้ได้บังเกิดสิ่งวิเศษ ๑๔ อย่าง อาทิ น้ำอมฤต นางอัปสร เทวดา สิ่งของวิเศษต่าง ๆ รวมทั้งสัตว์เทวะ นางอัปสรที่บังเกิดขึ้นในครั้งนี้ได้มีพระนางลักษมีถือกำเนิดขึ้นมาด้วย เมื่อครั้งพระนางลักษมีได้ปรากฏกายขึ้น ประกอบด้วยขณะนั้นพระนารายณ์ทรงอวตารเป็นเต่าใหญ่เพื่อรองรับไม่ให้โลกไว้ ได้แลเห็นพระนางลักษมีจึงเกิดความพึงพอใจ ดังนั้นด้วยอำนาจฤทธิ์เดชที่มีจึงบันดาลให้พระนางมาเป็นชายาของพระองค์ในด้านคัมภีร์วิษณุปุราณะ กล่าวว่าพระนางลักษมีเป็นธิดาของพระฤาษีภฤคุกับนางชยาติ ตำนานอื่น ๆ กล่าวไว้ดังนี้ พระนางลักษมีเกิดจากดอกบัวหลวง ต่อมาได้เข้าเฝ้าพระนารายณ์โดยได้ถือดอกบัวหลวงไปเข้าเฝ้าด้วย พระนารายณ์เกิดพึงพอพระทัยในพระนางยิ่งนักจึงได้อภิเษกเป็นพระชายาในที่สุด พระนามที่ได้เรียกขานพระนางลักษมี มีมากมาย และมีการกล่าวถึงเรื่องการอวตารของพระนารายณ์ไว้ว่า พระนางลักษมีผู้เป็นชายา จะอวตารลงมาทุกปางที่พระนารายณ์ได้อวตารลงมาด้วยเสมอ ดังจะกล่าวบางส่วนไว้ดังนี้ พระนามเรียกขาน อาทิ ชลธิชา ผู้เกิดแต่น้ำ (เหตุจากคัมภีร์รามายณะ) ปัทมา ผู้มีดอกบัวเป็นสัญลักษณ์ ภควดี หญิงงามทั้งรูปและกิริยามารยาท มีวาจาไพเราะ เป็นผู้นำแห่งความเจริญทุกประการ การอวตารลงมาของพระนางลักษมี เมื่อพระนารายณ์อวตารลงเป็นพระราม พระนางลักษมี ทรงอวตารเป็นนางสีดา พระนารายณ์อวตารเป็นพระกฤษณะ พระนางลักษมี อวตารเป็นนางรุกมิณี พระนารายณ์อวตารเป็นพราหมณ์เตี้ย (ปางวามนาวตาร) พระนางลักษมี อวตารเป็นนางกมลา พระนารายณ์อวตารเป็นพราหมณ์ถือขวาน นามปรศุราม (ปางปรศุรามาวตาร)พระนางลักษมี อวตารเป็นนางธรณี รูปเคารพทางศิลปะที่ค้นพบจนถึงปัจจุบัน พระนางลักษมี ประทับยืนบนดอกบัว และถือดอกบัว อาภรณ์ดั่งกษัตริย์ สวมมงกุฏ หรือรูปเคารพที่พระนางประทับนั่งบนดอกบัว พระวรกายสีทอง ทรงถือดอกบัวไว้ บางรูปเคารพที่พบพระนางลักษมี มี ๘ กร ทรงถือดอกบัว คันธนู คทา ลูกธนู ลูกล้อ หอยสังข์ ลูกบดไม้ และประตัก ส่วนรูปเคารพที่พระนางลักษมี ๔ กรนั้น พระวรกายสีทอง ทรงเครื่องประดับ พระกร ถือ ลูกล้อ หอยสังข์ ดอกบัว และคทา รูปเคารพที่พบทั้ง ๘ กร และ ๔ กร ที่ปรากฏให้เห็นมีทั้งพระนางลักษมี ประทับยืน และนั่งบนดอกบัว รูปเคารพที่มี ๒ กร ประทับยืนบนดอกบัว ถือ ดอกบัว และหอยสังข์ไว้ รูปเคารพที่พบในศาสนสถานของลัทธิไวษณพนิกาย มีลักษณะของพระนางลักษมี ประทับนั่งบนตักซ้ายของพระนารายณ์ พระบาทซ้ายงอเข้าหาพระบาทขวาตกลงล่าง พระนางมี ๔ กร ถือ สังข์ จักร ตรี คทา (บางรูปเคารพพระนางลักษมี มี ๒ กร ถือ ดอกบัวหลวง ทั้ง ๒ กร) รูปเคารพพระนางลักษมีนั่งเคียงข้างพระนารายณ์ ประทับบนขนดของพระยานาควาสุกรี พระองค์ทรงถือดอกบัว รูปเคารพบางรูปพระนางทรงนั่งตักพระนารายณ์ ทรงถือดอกบัวไว้ พระนารายณ์ประทับบนพระยาครุฑ รูปเคารพอื่น ๆ ที่ได้กล่าวถึงและในส่วนที่ไม่ได้กล่าวไว้ คือสิ่งที่ชาวอินเดียในแต่ละยุคสมัยได้สร้างสรรค์ขึ้นมาจากความพอใจของพวกตน บางก็เกิดจากแนวคิดแรงบันดาลใจของช่างผู้สร้างสรรค์ ความนิยมของผู้คนในแต่ช่วงสมัย ซึ่งได้ปรากฏลักษณะต่างกันไป และมีความหลากหลายมากนัก

ตำนานการกำเนิดแห่งองค์พระแม่สุรัสวตีเทวี

พระนางสุรัสวดี ทรงมีพระนามเรียกขาน อาทิ วัค วัคเทวี วาคิสวารี ภารตี วาณี สาวิตรี และอื่นๆอีกภาคนึงของพระแม่สุรัสวดีคือพระนางคายตรีมนตรา ความเป็นมาของพระนางสุรัสวดี มีมากมายหลากหลายคัมภีร์จึงจะขอเล่าเป็นบางส่วนดังจะเสนอ ในคัมภีร์มัสยาปุราณะ กล่าวไว้ว่า พระพรหมธาดาเป็นผู้สร้างพระนางขึ้น (เปรียบได้ว่าพระนางเป็นเสมือนพระธิดาของพระองค์) กาลต่อมาพระพรหมท่านเกิดหลงรักในธิดาองค์นี้ จึงได้ทำการอภิเษกกับธิดาของพระองค์เองในด้านของพระนางสุรัสวดีเมื่อแรกที่กำเนิดมาได้รับประทานพรจากสวรรค์ไว้ว่าให้เคลื่อนไหวไปได้ดังคิดไม่ว่าจะไปทิศใดก็ตาม ด้วยเหตุนี้เองพระพรหมจึงต้องเฝ้าติดตามดูแลคุ้มครองพระนางให้ได้เสมอ จึงเป็นเหตุให้พระองค์ทรงมีพระพักตร์ 5 พักตร์เพื่อดูแลนางทุกหนแห่งคัมภีร์วิษณุโบราณบันทึกไว้ว่าเมื่อพระพรหมเนรมิตพระนางสุรัสวดีขึ้นมาแล้วได้ประทานคัมภีร์ด้านอักษรเทวะนาครี และอักษรภาษาสันสกฤตให้แก่พระนาง พระนางจึงได้ศึกษาคัมภีร์จนแตกฉาน เก่งทางด้านนี้ความสามารถนั้นเหนือกว่าผู้ใดบนสรวงสวรรค์กล่าวกันว่าพระนางเป็นเจ้าแม่หรือเทพีแห่งอักษาศาสตร์ด้วย พระนางเป็นผู้ให้กำเนิดอักษรเทวะนาครี ซึ่งเป็นตัวอักษร (เขียน) ของอักษรภาษาสันสกฤต หรือภาษาอินดี ในอินเดียปัจจุบัน บางตำนานกล่าวไว้ว่าพระนางสุรัสวดี เป็นเทพธิดาแห่งน้ำ (ในอินเดียมีแม่น้ำชื่อสรัสวดี) ซึ่งหลักฐานจากหนังสือมหาภารตะกล่าวว่าพระนางเป็นผู้ให้กำเนิดน้ำอันบริสุทธิ์แก่มวงมนุษย์สัตว์และพื้นดินอีกตำนานที่จะขอเล่านั้นแต่เดิมพระแม่สรัสวดี เทวีแห่งสติปัญญาคือชายาแห่งพระพรหมผู้สร้างโลก เป็นเทวีที่งดงามมาก พระฉวีวรรณผิวขาวผุดผ่องเปรียบดั่งไข่มุก หรือหิมะ อาภรณ์ผ้าไหมแก้วขาวพิสุทธิ์ประดับไปด้วยเพชร ระยิบระยับแวววาวสุกใสไปทั้งองค์ ประทับบนหงส์ และนกยูง มีเครื่องดนตรีที่ชื่อว่า"วีณา"{พิณ}อันศักดิ์สิทธิ์ มีน้ำใจอันดีเป็นยิ่งนัก พระองค์ประทับอยู่ในวิมาน ณ สวรรค์ชั้นพรหม หรือพรหมโลก เป็นมหาเทวีหนึ่งในสามเทวีสูงสุด และยังเป็นบรมครูของพระคเณศท่านถ่ายทอดวิชาความรู้ต่างๆให้แก่องค์พระพิฆเณศ ด้วย ในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ในประเทศอินเดียยังมีแม่น้ำสายที่สำคัญมากที่ชื่อ สรัสวดี อีกด้วย พระองค์ยังเป็นผู้ให้กำเนิดบทสวดมนต์บทแรกของจักรวาลชาวฮินดูยังนับถือพระสรัสวดีเป็น เทวีแห่งเวทมนต์ คาถา และการประกอบพิธีกรรม ฉะนั้น หากมีการประกอบพิธีบูชาเทพหรือเทศกาลใดๆแล้ว ถ้าอัญเชิญ พระพิฆเนศ เป็นเทพองค์แรกก็จะทำให้พิธีนั้นๆเกิดสิริมงคลขึ้น และการอัญเชิญ พระแม่สรัสวตี ร่วมด้วย ก็ย่อมบันดาลให้การสวดมนต์และการประกอบพิธีกรรมทุกขั้นตอน ดำเนินไปอย่างศักดิ์สิทธิ์ มีพลังเข้มข้นและมีประสิทธิภาพสูงสุด พระสรัสวดีทรงโปรดการแสดงดนตรี การบรรเลงบทเพลง การร้องเพลงถวาย การอ่านบทกวีถวาย ฯลฯ ผู้บูชานิยมเปิดเพลง หรือบรรเลงดนตรีที่มีท่วงทำนองประณีตงดงามถวายแด่พระองค์ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องดนตรีประเภทใดท่านก็โปรดทั้งสิ้น เช่น พิณ จะเข้ ขิม ไวโอลีน กีต้าร์ เปียโน กลอง ฯลฯรูปภาพของพระแม่สรัสวดี หรือ สรัสวตี นั้นจะสังเกตได้ง่ายที่สุดคือ พระองค์จะทรงเครื่องดนตรีที่เรียกว่า วีณา (จะเข้ของอินเดีย) อยู่เสมอ อันเป็นสัญลักษณ์แห่งการดนตรี ศิลปะทุกแขนง และการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ฯลฯ พระหัตถ์อีกข้างจะถือ คัมภีร์ อันเป็นสัญลักษณ์แห่งความรู้ ปัญญา การเขียน การอ่าน การศึกษา และพระหัตถ์อีกข้างทรงถือ ลูกประคำ อันเป็นสัญลักษณ์แห่งการสวดมนต์ การภาวนา การทำสมาธิ การประกอบพิธีกรรม ฯลฯบางลัทธิ บางคติที่มีการวาดรูปพระสรัสวตีเพื่อการบูชานั้น อาจจะวาดให้พระองค์ทรง ขลุ่ย สังข์ คันศร คฑา บ่วง ลูกบด ประตัก ฯลฯ แล้วแต่จิตรกรจะสร้างสรรค์ขึ้น สำหรับพาหนะของพระแม่สรัสวดีคือ หงษ์ และ นกยูง เน้นที่สีขาว บางครั้งก็ทรงประทับบนดอกบัวสีขาว

26 พฤษภาคม 2552

มนตราบูชาพระแม่สุรัสวตีเทวี


- โอม ชยะ ศรี สรัสวตี มาตา
- โอม ศรี สรัสวตี นะมะห์
- โอม ศรี สรัสวตี ยะนะมะฮา
- โอม ศรี มหาสรัสวตี เจ นะมะฮา
- โอม สรัสวตี นามะ สตุภะยัมวารเด กามรูปานีวิทยา อาราม ภามการิชยามิ สิทธิ ภาวะตุ เม ซาดาคำแปล : โอม พระแม่สรัสวดีเทวีผู้สูงศักดิ์ข้าพเจ้าขอศิโรราบแด่พระองค์ และจะถ่อมตนอยู่เสมอพระองค์คือผู้ประทานทุกสิ่งที่ข้าพเจ้าปรารถนาข้าพเจ้าจะร่ำเรียน ค้นคว้าสรรพความรู้จากท่านและขอพระองค์ประทานพรให้เกิดความสำเร็จแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด

- โองการพินทุ นาถัง อุปปันนังสรัสวดี มะเตโต มหาเทโว ราชคาถา
- โอม ไจยตี ไจยปารตี สรัสวตี ไจยเดวีไจยตี อามิตาวรตายินี สุรนารามุนีจันเสวีไจย สตาวาดินี ชยามพาวีวีณาวาดินี อัมพา ปัทมาปะรีเยปรเมศวารี อิกาตุมาฮาราฮีนา อวลัมปา

- โอม สุรัสวดี อิตถีเมตตัญจะ เทวะปัญจะเร ภะวันตุเมทุติยัมปิ สุรัสวดี อิตถีเมตตัญจะ เทวะปัญจะเร ภะวันตุเมตะติยัมปิ สุรัสวดี อิตถีเมตตัญจะ เทวะปัญจะเร ภะวันตุเม